วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


รายชื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

ชื่อย่อเว็บไซต์บริษัทที่ตั้ง
csloxinfowww.csloxinfo.comบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 90 อาคารไซเบอร์เวิร์ลด ทาวเวอร์ เอ ชั้น 17-20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
INETwww.inet.co.thบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)1768 อาคาร ไทยซัมมิท ทาวเวอร์ ชั้น 10-12 และชั้น IT ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
ISSPwww.issp.co.thบริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด252/85-86 อาคารสำนักงานเมืองไทยภัทร 2 ชั้นบีบี ยูนิตเอ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
Ji-Netwww.ji-net.com บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด200 หมู่ 4 ชั้น 8 อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนลทาวเวอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
KSCwww.ksc.netบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต จำกัด2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 10 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
3BB Broadbandwww.3bb.co.thบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)200 หมู่ 4 อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนลทาวเวอร์  ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
Pacific Internetwww.pacific.net.thบริษัท แพคเน็ท ประเทศไทย จำกัดเลขที่ 333 ชั้น 28 อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ซอยเฉยพ่วง ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
Samarts Internetwww.samarts.comบริษัท สามารถ อินโฟเนต จำกัดเลขที่ 99/ 6 หมู่ 4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 30 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล คลองเกลือ อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
TOTwww.tot.co.thบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)89/2 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
Truewww.truecorp.co.th/บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
 จาก http://www.speedtest.or.th/news_detail.php?id=20

อินเทอร์เน็ต



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



รูปแสดงเครือข่ายใยแมงมุม (WWW) ที่เชื่อมโยงรอบ ๆ วิกิพีเดีย
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

เนื้อหา

[ซ่อน]

ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ไฟล์:Worldint2008pie.png
สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]

อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท

ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps [3]

ดูเพิ่ม

หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

 

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)
  • ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)
  • ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
  • ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code) เช่น
สัญลักษณ์นิวมอนิกโคด
ความหมาย
A 
C 
MP
STO
การบวก (Add)
การเปรียบเทียบ (Compare)
การคูณ (Muliply)
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ (Store)
ตัวอย่างนิวมอนิกโคด
ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
  • ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
  • ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
มีนักเขียโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินต้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้ดังนี้
TABLE FILE SALES
SUM UNIT BY MONTH BY CUSTOMER BY PROJECT
ON CUSTOMER SUBTOTAL PAGE BREAK
END
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าใข้ภาษา COBOL เขียนอาจจะต้องใช้ถึง 500 คำสั่ง แต่ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย
ข้อดีของภาษาในยุคที่ 4
  • การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
  • ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
  • ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
  • ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
ภาษาในยุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการแสดงรายงานจากฐานข้อมูล จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกดูข้อมูลพิเศษที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ ถ้าผู้ใช้เรียนรู้ภาษาเรียกค้นข้อมูลก็จะขอดูรายงานต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า SQL (Structured Query Language) และนอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมการใช้งานมากเช่นกัน
  • ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ
  • การเลือกใช้คอมพิวเตอร์
เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปีจะมีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย และภาษาต่าง ๆ จะมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกภาษาที่จะนำมาใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งปัญหาของบุคลากรที่ต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย
ในการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
  • ในหน่วยงานหนึ่ง ๆ ควรจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวกัน เพราะการดูแลรักษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ตลอดจนการจัดหาบุคลากรจะกระทำให้ง่ายกว่า
  • ในการเลือกภาษาควรเลือกโดยดูจากคุณสมบัติหรือข้อดีของภาษานั้น ๆ เป็่นหลัก
  • ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นต้องนำไปทำงานบนเครื่องต่าง ๆ กัน ควรเลือกภาษาที่สามารถใช้งานได้บนทุกเครื่อง เพราะจะทำให้เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
  • ผู้ใช้ควรจำกัดภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ ไม่ควรติดตั้งตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษาบนเครื่องทุกเครื่อง
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้ จะถูกจำกัดโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีอยู่ เพราะควรใช้ภาษาที่มีผู้รู้อยู่บ้าง
  • บางครั้งในงานที่ไม่ยุ่งยากนัก อาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น ภาษา BASIC เพราะเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากอยู่แล้ว
ภาษาคอมพิวเตอร์
การใช้งาน
BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code)สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Common Business Oriented Language)นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
FORTRAN (FORmula TRANslator)ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal)ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
Cสำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
C++สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ALGOL (ALGOrithmic Language)เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal
APL (A Programming Language)ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ. 1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
LISP (LIST Processing)ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
LOGOนิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
PL/I (Programming Language One)ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
PROLOG (PROgramming LOGIC)นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
RPG (Report Program Generator)ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก
ภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน
  • ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้มีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายภาษา แต่ละภาษาก็ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น บางภาษาก็ออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ บางภาษาก็ใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปถึงการใช้งานของแต่ละภาษาดังนี้
  • ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
  • ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
  • ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า FORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
  • ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
  • ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
  • ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที
โปรแกรมเดลไฟ
หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือ Simula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่ 3 คือ C จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษา JAVA
ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
โปรแกรมวิชวลเบสิค
ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็นแบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development)ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก
โปรแกรมพัฒนาภาษาจาวา

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
     
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
     
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
     
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
     
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
     
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
  7. จากhttp://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx
ใบความรู้
เรื่อง
ศัพท์อินเทอร์เน็ต น่ารู้
 
ACK Acknowledgment แอคหรือการตอบรับ เป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลการได้รับ ACK หมายความว่าข่าวสารที่ส่งออกไปได้รับแล้วเรียบร้อย หรือหมายความว่าตกลงตามข้อเสนอที่เสนอไป ตรงข้ามกับ NAK
Acrobat อโครแบตเป็นชุดของเครื่องมือของบริษัท Adobe Corporation ซึ่งช่วยให้ผู้จัดทำเอกสารแปลงไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบโพสต์สคริปต์ (Postscript) ให้อยู่ในรูปแบบเอกสารที่โอนย้ายได้ (Portable Document Format) รวมทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงเอกสารในรูปแบบนี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ภาษาโพสต์สคริปต์เป็นภาษาที่เรียกได้ว่ามีหลายสำเนียง แต่ละสำเนียงก็มีความแตกต่างกันและใช้เฉพาะกับเครื่องพิมพ์รุ่นใดรุ่นหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาในการส่งเอกสารรูปแบบโพสต์สคริปต์ระหว่างเครื่อง อโครแบตช่วยแก้ปัญหาการส่งข้ามเครื่องและยังสามารถแสดงเอกสารบนหน้าจอได้โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา
Address Resolution Protocol (ARP) เออาร์พีเป็นโปรโตคอลบนอินเตอร์เน็ตที่ให้ทีซีพี/ไอพีทำงานกับอุปกรณ์ และโปรโตคอลมาตรฐาน ที่ระดับต่ำกว่าได้ ARP จะเปลี่ยนหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ส่งมาในอินเตอร์เน็ต ให้เป็นหมายเลขแอดเดรส ของเน็ตเวิร์กการ์ด ในเครื่องนั้นดังเช่นในกรณีที่ทีซีพี/ไอพีบนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต การเปลี่ยนแอดเดรสของ ARP จะเกิดการทำงานของทีซีพี/ไอพี ซอฟต์แวร์เองโดยอัติโนมัติ
Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีเซิร์ฟที่ยอมให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีบนเซิร์ฟเวอร์นั้น (แต่ผู้ใช้ต้องใส่ชื่อ 
บัญชี "anonymous" เป็นชื่อล็อกอินแทน) มีเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ตหลายแห่งที่ให้บริการนี้ ให้ดูที่คำว่า Archie เพิ่มเติม
API, Applications Programming Interface เอพีไอเป็นวิธีการติดต่อเพื่อขอใช้บริการของระบบปฏิบัติการ จากโปรแกรมอื่นที่เขียนขึ้น โดยโปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องทราบวิธีการเหล่านี้ แต่บางครั้งต้องรู้ว่าทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่นั้นมีวิธีการติดต่อ เป็นแบบใดเพื่อเลือกโปรแกรมที่จะมาใช้งานได้ถูกต้อง เช่นถ้าทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้มีการติดต่อแบบ (Winsock API) ก็ต้องเลือกโกเฟอร์ไคลเอ็นต์ที่ใช้การติดต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน
Archie อาร์ซีเป็นบริการในเครือข่ายที่ช่วยในการค้นหาตำแหน่งของ annonymous FTP ที่มีไฟล์ที่ต้องการ เขียนโดยมหาวิทยาลัยแมคกิล (และปัจจุบันดูแลโดย Bunyip Information Systems) ในรุ่นถัดไป อาร์ซีจะสามารถค้นหาไฟล์ตามบทย่อ ชื่อผู้เขียน รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆได้ และเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการค้นหาทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
ASCII file แอสกี้ไฟล์เป็นไฟล์ที่เข้ารหัสตามมาตรฐาน ASCII (American Standard Code for Information Interchange) มีรหัสอักษรทั้งหมด 128 ตัว คำว่า "flat ASCII file" มักจะใช้เรียกเท็กซ์ไฟล์ที่ไม่มีอักษรควบคุมพิเศษหรือมีข้อมูลแบบไบนารีเลย ในการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้เอพทีพีไฟล์ชนิดเท็กซ์จะหมายถึงแอสกี้ไฟล์
Asynchronous Transfer Mode (ATM) เอทีเอ็มเป็นสื่อชนิดใหม่เหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนสายสื่อสารที่มีความเร็วสูง (เช่นสายไฟเบอร์ออพติก) และมีความสามารถในการทำสวิชชิ่งได้เร็ว เอทีเอ็มจะย้ายข้อมูลขนาด 53 ไบต์ที่เรียกว่า "เซลล์" (ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาดของแพคเก็ตที่ใช้ในอีเธอร์เน็ตมาก) เอทีเอ็มเป็นมาตรฐานการสื่อสารระกับต่ำชนิดแรกที่ใช้งานได้ดีทั้งในเครือข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายระยะกว้าง
Authoring Tool เป็นเครื่องมือช่วยทำเอกสาร เป็นซอฟต์แวร์(อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ก็ได้) ที่ช่วยในการจัดทำเอกสารออนไลน์ โดยเฉพาะเอกสารประเภทไฮเปอร์เท็กซ์ หรือมัลติมิเดีย
Account บัญชี รูปแบบของการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือข่ายงาน โดยต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้เฉพาะและรหัสผ่านซึ่งข้อตกลงระหว่างผู้ใช้ กับผู้ให้บริการในข่ายงาน ผู้ใช้ต้องตกลงปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ในการเข้าถึงข่ายงาน และในบางกรณีต้องมีการจ่ายค่าบริการด้วย
anonymous การถ่ายโอนแฟ้มโดยไม่ระบุชื่อ 
การใช้โปรแกรมในการถ่ายโอนแฟ้มในระบบที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตในฐานะของผู้ใช้งานชั่วคราว เพื่อติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึง ลงบันทึกเปิด (log on) เพื่อเข้าสู่สารบบ หรือถ่ายโอนแฟ้มจากคอมพิวเตอร์นั้นมายังเครื่องของเรา เมื่อเราลงบันทึกเปิดเข้าไปยังเครื่องบริการนั้นเราควรพิมพ์คำ "anonymous" เป็นชื่อของเราและพิมพ์เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรหัสผ่าน ในการของความช่วยเหลือในการค้นหาแฟ้มในเครื่องบริการนั้น เราสามารถใช้อาร์คี (Archie),โกเฟอร์ (Gopher) , เวส (WAIS) หรือ เวิล์ดไวด์เว็บ (WWW) ได้
Archie อาร์คี 
ระบบดรรชนีที่ใช้ในการค้นหาแฟ้มเฉพาะหรือรายชื่อของคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่สามารถใช้ได้โดยการเข้าถึงจากที่ใดๆ ก็ได้ในอินเทอร์เน็ต อาร์คีจะเป็นเครื่องมือสำหรับการค้นหาแฟ้มที่ระบุไว้ โดยสามารถเข้าถึงแฟ้มได้จากการเก็บในที่ตั้งของเกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP sites)ทั่วโลก ข้อเสียอย่างหนึ่งของอาร์คี ได้แก่ การที่ผู้ใช้ต้องทราบคำสะกดที่ถูกต้องของชื่อแฟ้มจึงจะสามารถค้นหาแฟ้มนั้นได้
Backbone กระดูกสันหลังเครือข่ายเป็นส่วนประกอบหลักที่เป็นที่รวมและแจกจ่ายข้อมูลให้กับเครือข่ายย่อยๆ เป็นส่วนประกอบบนสุดในระดับชั้นของเครือข่าย
Baseband สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้เพียงช่องทางเดียว (ใช้แถบความถี่พื้นฐานความถี่เดียว) อีเธอเน็ตเริ่มแรกถูกออกแบบเป็นสื่อประเภทเบสแบนด์ และยังมีการใช้งานในแบบนี้อยู่อีกมาก (ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการส่งข้อมูลของอีเธอเน็ตไปในสื่อแบบบรอดแบนด์)
Binary file ไบนารีไฟล์เป็นกลุ่มข้อมูลขนาดหนึ่งไบต์เรียงต่อกัน ข้อมูลเหล่านี้มักไม่มีความหมายในตัวมันเอง ไม่สามารถอ่านได้แบบข้อมูลเท็กซ์ ตัวอย่างเช่นไฟล์ที่เป็นแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นไบนารีไฟล์ การรับส่งไฟล์ประเภทนี้โดยใช้เอฟทีพีต้องกำหนดประเภทของไฟล์เป็น "bin"หรือ "image"
Bind Berkeley Internet Domain Software ไบนด์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบเบิร์คลีย์ยูนิกซ์ เพื่อให้เนมเซิร์ฟเวอร์ 
(name server) ใช้ในการทำงานทำงานเกี่ยวกับระบบชื่อโดเมน
Bridge บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมส่วนต่างๆ ของเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน บริดจ์ทำงานในระดับชั้นที่เรียกว่า 
"media access layer" ทำหน้าที่ในการส่งผ่านข้อมูลเช่นดาต้าแกรมของอีเธอร์เน็ตข้ามส่วนของเครือข่าย ให้ดูที่คำว่า router เพิ่มเติม
Broadband สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทาง (ใช้แถบความถี่หลายความถี่)
browser เบราเซอร์เป็นเครื่องมือให้ผู้ใช้เรียกดูไฟล์ข้อมูล บราเซอร์บางตัวมีความสามารถในการค้นหาข้อความที่อยู่ในไฟล์ ได้เช่นเดียวกับเท็กซ์เอดิเตอร์ แต่ไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแก้ไชข้อมูลในไฟล์ คำว่าเพจเจอร์ (pager) ก็ใช้แทนความหมายนี้ได้ ในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคำว่า "เบราเซอร์" เป็นชื่อเรียกไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเรียกดูเอกสารในเว็บ
bandwidth ช่องกว้างสัญญาณ 
การวัดความถี่ของจำนวนข้อมูลที่สามารถไหลไปในช่องสัญญาณโดยใช้เป็นรอบต่อวินาที (hertz) หรือบิตต่อวินาที (bits per second)
CCITT ชื่อย่อขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศมีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโทรศัพท์และโทรเลขระหว่างชาติ 
(International Telephone and Telegraph Consultative Committee) องค์กรนี้มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานเช่น X.25 และ X.400 หน่วยงานที่ดูแล CCITT คือ International Telecommunications Union (ITU) ได้เปลี่ยนชื่อ CCITT เป็น ITU-Tเรียบร้อยแล้ว
CD-ROM Compact Disk-Read Only Memory ซีดีรอมเป็นการนำเอาคอมแพ็คดิสก์มาใช้ในการเก็บและจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่มีปริมาณมาก แผ่นซีดีรอมเผ่นเดียวสามารถเก็บข้อมูลได้หลายร้อยเมกะไบต์
Client/Server วิธีการประมวลผลแบบกระจายวิธีหนึ่ง โดยมีการโต้ตอบกันระหว่างไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนเครื่องของผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนโฮสต์คอมพิวเตอร์โฮสต์ 
คอมพิวเตอร์อาจจะเป็นยูนิกซ์ เมนเฟรมหรือเครื่องประเภทอื่นได้ ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์จะจัดการด้านการแสดงผลข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์จทำหน้าที่ของฐานข้อมูลการติดต่อระหว่างซอฟต์แวร์ทั้งคู่จะกำหนดโดยโปรโตคอลเฉพาะ วิธีการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นี้ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อเครื่องส่วนบุคคลและเครือข่ายมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น
cracker แคร็กเกอร์คือผู้ที่พยายามเจาะทำลายระบบป้องกันความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า แฮกเกอร์ 
"hacker" เพื่อให้คำว่าแฮกเกอร์คงความหมายเดิมว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ได้เก่ง
CSO เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลอย่างง่ายแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ เช่นข้อมูลสมุดโทรศัพท์ เป็นชื่อย่อของ 
Computing Services Organzation ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ โปรโตคอล CSO ใช้กันมากในกลุ่มผู้ที่ใช้โกเฟอร์ถึงแม้ว่าจะมีโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานกว่าอยู่แล้วก็ตาม (บางครั้งก็เรียกว่า CCSO)
Curses เคิร์สเซสเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนยูนิกซ์ ช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมแสดงข้อมูลได้ทั่วจอเทอร์มินัล ชื่อเคิร์สเซสมาจากเคอร์เซอร์คีย์
CWIS Campus-Wide Information System ระบบสารสนเทศของสถาบันการศึกษาเป็นระบบที่ให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน เริ่มแรกมีการใช้กันในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ต่อมาเริ่มมีใช้กันในโรงเรียนด้วย ระบบ CWIS จะประกอบด้วยเอกสาร (เช่น ตาราง 
รายวิชา กำหนดการ และแหล่งงาน) และการเชื่อมต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่น (เช่นระบบห้องสมุดออนไลน์) ระบบ CWIS หลายแห่งพัฒนามาจากเครื่องเมนเฟรม และได้เปลี่ยนมาใช้วิธีประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ในเวลาต่อมา โกเฟอร์และเว็บเป็นซอฟต์แวร์หลักที่ใช้กันมาในระบบ CWIS บางแห่งก็ใช้ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีอื่น (เช่นที่ MIT จะใช้ซอฟต์แวร์ 
ที่ชื่อ Techinfo ในการทำ CWIS
datagram ดาต้าแกรมเป็นชื่อเรียกหน่วยของข้อมูลที่ส่งถูกส่งไปในเครือข่าย ขู้มูลชุดหนึ่งที่ส่งโดยใช้ทีซีพี/ไอพีจะถูกส่งไปในรูปของไอพีดาต้าแกรมจำนวนมากกว่าหนึ่งดาต้าแกรมขึ้นไป ส่วนหัวของดาต้าแกรมจะมีอยู่ที่แลายทางซึ่งจะทำให้ข้อมูลส่งผ่านไปในอินเตอร์เน็ตจนถึงปลายทาง ซึ่งคล้ายกับการส่งโทรเลข
DTD Document Type Definition ข้อกำหนดชนิดของเอกสารจะะอธิบายโครงสร้างของรหัสพิเศษที่เพิ่มลงในเอกสารประเภท SGML ภาษา HTML ที่ใช้กันในเวิล์ดไวด็เว็บก็มี DTD ที่อธิบายรูปแบบของภาษาอยู่
Electronic mail (e-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-เมล์) 
การใช้ข่ายงานในการรับและส่งข้อความโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองแสตมป์โดยที่ข้อความนั้นจะถึงผู้รับในทันที ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบที่บุคคลส่งและรับข้อความระหว่างกันโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โมเด็ม และข่ายงานที่เชื่อมโยงถึงกัน ข้อมูลที่ส่งจะเป็นได้ทั้งตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก และเสียง ผูส่งสามารถส่งข่าวสารไปยังผู้รับคนเดียวหรือหลายคนพร้อมกันได้ โดยข่าวสารที่ส่งนั้นจะถูกเก็บไว้ในตู้ไปรษณีย์ (mail box) ที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ในข่ายงาน ผู้รับสามารถเปิดอ่านข่าวสาร เมื่อใดก็ได้ ตามความสะดวก เมื่ออ่านแล้วสามารถพิมพ์ลงกระดาษหรือจะลบทิ้งไปก็ได้ นอกจากการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในระบบข่ายงาน ธรรมดาแล้ว เรายังสามารถส่งทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่กว้างขวางทั่วโลก ช่วยให้การส่งและรับข้อความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น electronic mail นี้นอกจากจะใช้อย่างย่อว่า "e-mail" แล้ว ยังใช้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า "e-pistles"
electronic mail address ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ชุดอักขระที่ระบุเฉพาะเจาะจงถึงตำแหน่งที่อยู่ของตู้ไปรษณีย์ของบุคคลในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ต จะประกอบด้วยชื่อของบุคคล เช่น tpojanart และตามด้วยสัญลักษณ์ @ และชื่อของเขต เช่น tpojanart @ 
netserv.chula.ac.th หมายถึง 
tpojanart ชื่อของผู้ใช้ (User ID) 
netserv ชื่อเครื่อง (host) ที่เราติดต่อไปซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับ 
อินเทอร์เน็ต 
chula.ac.th ชื่อเขต โดยแยกย่อยได้ดังนี้ 
chula จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย 
ac สถาบันการศึกษา 
th ประเทศไทย
FAQ Frequently Asked Queation คำถามที่มีผู้ถามบ่อยเป็นเอกสารที่รวบรวมคำถามที่มีผู้ถามบ่อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและคำตอบ 
ไว้ด้วยกัน เอกสารส่วนใหญ่ที่อยู่ในข่าวยูสเน็ตจะอยู่ในรูป FAQ (และมักจะนำลงในกลุ่ม news.answers)
Firewall ไฟล์วอลล์เป็นวิธีการป้องกันโหนดๆ หนึ่งบนอินเตอร์เน็ตที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล โหนดที่อยู่ภายในไฟล์วอลล์อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้จากเครื่องมือการเข้าใช้ข้อมูลมาตรฐาน
FreeNet เป็นระบบการะดานข่าวประเภทหนึ่งที่ให้บริการสังคมโดยมีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วโลก เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเซิร์ฟ ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง มีอยู่ทั้งในอินเทอร์เน็ตและในรูปแบบการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์
FTP File Tansfer Protocol เป็นโปโตคอลมาตรฐานในการส่งไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอฟทีพียังเป็นชื่อของคำสั่งที่ผู้ใช้เรียกเมื่อต้องการส่งไฟล์ บางครั้งคำว่าเอฟทีพีก็ใช้เป็นคำกริยาในความหมายว่า สิ่งไฟล์โดยใช้เอฟทีพีเช่นในประโยค "ให้เอฟทีพีไฟล์จาก 
msdos.archive.umich.edu"
FQDN Fully Qualified Domain Name ชื่อเต็มของโดเมนเป็นชื่อของโฮสต์ที่เขียนครบทุกส่วน เช่น muuwump.cl.msu.edu เป็นชื่อเฉพาะของโฮสต์ใดโฮสต์หนึ่ง และจะไม่ซ้ำกับชื่อโฮสต์ในอินเตอร์เน็ต
Full-duplex เป็นชื่อชนิดของช่องทางการสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลทั้งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน
File transfer การถ่ายโอนแฟ้ม กระบวนการของการส่งผ่านแฟ้มไปทางโมเด็มหรือทางข่ายงาน แต่ถ้าเป็นในความหายกว้างๆ แล้วการถ่ายโอนแฟ้มหมายถึงการเคลื่อนย้ายแฟ้ม เช่น การคัดลอกแฟ้มจากจานบันทึกแบบแข็งสู่ลงแผ่นบันทึก
file transfer protocol (ftp) เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) 
มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ (asynchronous communications) ที่รับประกันความปราศจากความผิดพลาดในการส่งผาานโปรแกรมและแฟ้มข้อมูลผ่านทางระบบโทรศัพท์ เช่น เอ็กซ์โมเด็ม (XMODEM) , เคอร์มิต (Kermit) , และซีโมเด็ม(ZMODEM) เป็นต้น
File Transfer Protocol (FTP) เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) 
มาตรฐานในอินเทอร์เน็ตสำหรับการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลโดยจะเป็นการบรรจุลง (download) แฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในอินเทอร์เน็ตมาใว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุขึ้น (upload) แฟ้มข้อมูลของเราส่งไปยังศูนย์บริการตามกฏเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้มก็ได้เช่นกัน FTP (พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่) จะเป็นชุดกฏเกณฑ์เฉพาะที่ประกอบด้วย ftp (พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวเล็ก) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ 
ในการใช้เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้มนี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้รับริการหรือเป็นสมาชิกเอฟทีพี โดยจะมีโปรแกรมใช้งาน ที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อกับคอมพิวเติร์เครื่องอื่นในอินเทอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนแฟ้มระหว่างกันได้ ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นนั้นเราต้องมีชื่อลงบันทึกเข้า (login name) และรหัสผ่าน หลังจากนั้นเราจะสามารถเข้าถึง ระบบสารบบแฟ้มของคอมพิวเตอร์และสามารถทำการบรรจุลวหรือบรรจุขึ้นแฟ้มต่างๆ ที่ต้องการได้ สิ่งยกเว้นอย่างหนึ่งได้แก่ เอฟทีพีที่ไม่ระบุชื่อ (anonymous FTP) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นสมาชิกของเอฟทีพีสามารถเข้าถึงแฟ้มที่เก็บบันทึกได้ แต่ต้องพิมพ์คำว่า "anonymous" แทนชื่อลงบันทึกเข้า และต้องใส่เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนรหัสผ่าน โปรแกรมสำรวจข้อมูลในเวิล์ดเว็บไวด์หลายๆ โปรแกรมสามารถช่วยให้สมาชิกเอฟทีพีสามารถบรรจุลงแฟ้มจากเอฟทีพีที่ไม่ระบุชื่อได้
Frequently Asked Questions (FAQ) คำถามที่ถามบ่อยๆ (เอฟเอคิว) 
ข้อความที่ติดประกาศโดยอัติโนมัติในกลุ่มอภิปรายในยูสเน็ตในช่วงระยะเวลาปกติเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ใหม่ๆ คำถามที่ถามบ่อยๆ นี้จะมีรายการคำถามที่มักติดประกาศถามอยู่ในกลุ่มอภิปราย พร้อมด้วยคำตอบที่รวบรวมจากผู้ใช้คนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในแต่ละเรื่องที่ช่วยกันตอบมา คำถามที่ถามบ่อยๆ จะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรกจะช่วยให้ผู้ใช้เลือกอ่านสิ่งที่เป็นคำถามอยู่ในใจของตนเองโดยไม่ต้องอายในการที่จะถามคำถามซ้ำกับที่เคยมีผู้ถามไปแล้ว และประการที่สอง คำถามต่างๆ จะมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนอยู่เสมอและจะมีข้อมูลที่ดีที่สุดที่เราอาจจะไม่หาได้ในที่อื่นๆ เกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการนั้น
gateway เกตเวย์เป็นบริการเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลหนึ่งให้อยู่ในรูปแบบของอีกโปรโตคอลหนึ่ง เช่นโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์สามารถเป็นเกตเวย์ไปยังฐานข้อมูลเวยส์ หรือเกตเวย์ที่ใช้เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปอินเตอร์เน็ตอีเมลล์ (โปรโตคอล SMTP) ให้ส่งผ่านในเครือข่าย X.400 (ในระระยะแรกที่อินเตอร์เน็ตยังเป็นอาร์พาเน็ต อยู่คำว่าเกตเวย์ใช้ในความหมายว่าเป็น "เราเตอร์" ซึ่งต่อมาได้เลิกใช้ไป)
GIF (graphic Interface Format) กิฟเป็นรูปแบบของภาพกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์เซิร์ฟ โปรแกรมที่สามารถแสดงรูปภาพในรูปแบบกิฟได้มีอยู่ทั่วไปทั้งในรูปของพับบิกโดเมน, แชร์แวร์ และซอฟต์แวร์ที่ขายทั่วไป
GNU เป็นโครงการจัดทำระบบปฏิบัติการที่ทำงานได้เหมือนระบบยูนิกส์ รวมทั้งจัดทำเครื่องมือต่างๆ ที่ทำงานได้เหมือนกับเครื่องมือในระบบยูนิกส์เช่น Gn โกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการแสดงไฟล์โพสต์สคริปต์ที่มีชื่อว่า 
"Ghostscript"
Gopher โกเฟอร์เป็นระบบเมนูที่มีหลายลำดับชั้นที่ใช้ในการจัดส่งเอกสารในอินเตอร์เน็ตออกแบบโดยมหาวิทยาลัยมินิโซต้า โกเฟอร์เป็นระบบที่มีชื่อเสียงในแง่การออกแบบและการบำรุงรักษาที่ไม่ยุ่งยาก โดยมีการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ ที่ยอมให้ผู้เข้าใช้ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์พิเศษ
Gopherspace โกเฟอร์สเปซจะหมายถึงเอกสารทั้งหมดและโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เปิดให้ใช้บริการได้ทั้งหมดในอินเตอร์เน็ต เนื่องจากระบบโกเฟอร์สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ผู้ใช้จะสามารถข้ามไปใช้ระบบโกเฟอร์อื่นได้จากเมนูหลัก หรือเมนูย่อยของระบบโกเฟอร์ที่กำลังใช้งานอยู่
Gateway เกตเวย์ , ประตูสื่อสาร 
ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ 
นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
(Gopher) โกเฟอร์ ระบบที่ใช้ยูนิกส์เป็นพื้นฐานและมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โกเฟอร์เป็นโปรแกรมที่มีรายการเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาแฟ้มข้อมูล ความหมาย และทรัพยากรอื่นๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่ระบุไว้ในโปรแกรมนี้มีการพัฒนาการในเริ่มแรกที่ทมหาวิทยาลัยแหงมินนีโซต้า (University of Minnesota) 
โกเฟอร์จะเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (FTP) และอาร์คี (Achie) ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้โกเฟอร์ไม่จำเป็นต้องทราบและใช้รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับอินเทอร์เน็ตสารบบ หรือแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เราเพียงแต่เลือกอ่านในรายการเลือกและกดแป้น Enter เท่านั้นเมื่อพบสิ่งที่น่าสนใจ ในการใช้นี้เราจะเห็นรายการเลือกต่างๆ พร้อมด้วยสิ่งที่ให้เลือกใช้มากมาย จนกระทั่งเราเลือกสิ่งที่ต้องการและมีข้อมูลแสดงขึ้นมา เราสามารถอ่านข้อมูลหรือเก็บบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในจานบันทึกได้
hacker แฮกเกอร์มีความหมายเดิมเป็นโปรแกรมเมอร์ที่หมกมุ่นอยู่กับการปรับปรุงโปรแกรมให้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรม ในปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายว่าเป็นผู้ที่พยายาม ทำลายการรักษาความปลอดภัย ในระบบคอมพิวเตอร์ ให้ดูที่คำว่าcracker เพิ่มเติม
half-dupiex เป็นชื่อชนิดของช่องทางสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลทั้งไปและกลับได้ แต่ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงหนึ่งทิศทางเท่านั้น
home page โฮมเพจเป็นเอกสารหน้าแรกของเวิล์ดไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทั่วไปจะเป็นเอกสารแนะนำตัวองค์การ หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์นี้
HTML The Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ในเวิล์ดไวด์เว็บที่มีความสามารถสร้างตัวเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นได้ ทำให้เวิล์ดไวด์เว็บมีความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มิเดีย 
HTML+ เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจาก HTML มีความสามารถในการแสดงข้อมูลได้ซับซ้อนขึ้น เช่นสามารถแสดงข้อมูลเป็นตารางได้ และแสดงข้อความที่เป็นตัวอักษรรอบๆ รูปภาพได้ ภาษา HTML+ ได้ถูกออกแบบให้เป็นภาษาที่ครอบคลุมภาษา HTML ซึ่งทำให้ไคลเอ็นต์ที่มีความสามารถแสดงเอกสาร HTML+ จนสามารถแสดงเอกสาร HTML ได้ทันที
hypertext ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นวิธีการสร้างการเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นจากเอกสารหนึ่งเมื่อผู้ใช้อ่านเอกสารที่มีการเชื่อมโยงดังกล่าว จะสามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องขึ้นมาอ่านได้อย่างรวดเร็ว วิธีนี้เริ่มได้รับความนิยมในโปรแกรม Hypercard ของเครื่องแมคอินทอช
hypermedia ไฮเปอร์มิเดียมีเป็นระบบมัลติมิเดียที่รวมเอาความสามารถในการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์เข้าไว้ด้วยกัน โปรแกรมในซีดีรอมมักจะมีความสามารถแบบไฮเปอร์มิเดีย เราสามารถใช้ระบบไฮเปอร์มีเดียผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยการใช้ไคลเอ็นต์โปรแกรมประเภทโมเซอิกร่วมกับการ์ดเสียง
HYTELNET ไฮเทลเน็ตเป็นฐานข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ของอินเตอร์เน็ต เก็บรายชื่อเครื่องที่ให้บริการข้อมูลประเภทออนไลน์ และระบบสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ ไฮเทลเน็ตที่ทำงานบนเครื่อง PC จะสามารถหาได้จาก Univesity of Saskatchewan แต่เป็นรุ่นที่ไม่สามารถเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติไปยังระบบที่ให้บริการข้อมูล แต่ไฮเทลเน็ตทีทำงานบนยูนิกส์และ VMS จะสามารถทำได้
host แม่ข่าย , แม่งาน 
คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ในอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำงานเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการถ่ายโอนข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้จะมีเลขอยู่ (เรียกว่า IP address) และชื่อเขตเป็นของตนเอง
IANA Internet Assigned Numbers Authority องค์การที่จัดทำมาตรฐานของตัวเลขต่างๆ ที่ใช้ในโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต เช่นเป็นผู้กำหนดว่าหมายเลขพอร์ตของโกเฟอร์มีค่าเป็น 70 และเป็นผู้กำหนดหมายเลขประจำชนิดของข้อมูลใน MIME ผู้พัฒนาโปรโตคอลต้องใช้ตัวเลขมาตรฐานนี้ 
IETF Internet Engineering Task Force หน่วยวิศวกรรมอินเตอร์เน็ตเป็นผู้ที่คิดค้นและปรับปรุงโปรโตคอลต่งๆ ที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต เป็นองค์กรที่จัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการประกอบด้วยกลุ่มทำงานต่างๆ ที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำ
internet กลุ่มเครือข่ายเป็นเครือข่ายใดๆ ที่ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยหลายเครือข่าย (สังเกตการใช้ตัวอักษร i ตัวเล็ก) 
Internet อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มีผู้ใช้ทั่วโลก ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยที่ติดต่อกันผ่านโปรโตคอล TCP/IP, พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต
Internet Information Provider ผู้ให้บริการข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตคือบุคคลหรือองค์กรที่จัดทำข้อมูลสำหรับให้ผู้อื่นอ่านบนอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการข้อมูลอาจจะมีโฮสต์เป็นของตัวเองและรันเซิร์ฟเวอร์ที่จัดส่งเอกสารได้เช่น โกเฟอร์เซิร์ฟเวรอ์ อิเมลล์เซิร์ฟเวรอณ หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ ผู้ให้บริการข้อมูลอาจจะฝากข้อมูลไว้กับโฮสต์อื่นก็ได้
Internet Service Privider ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตแก่บุคคลหรือองค์กรอื่น บริการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตมีหลายแบบเช่นอาจจะใช้งานอีเมลล์ได้เท่านั้น หรือให้บริการผ่านทางโทรศัพท์และการให้บริการเชื่อมต่อโดยตรง
Inverse multiplexing เป็นวิธีการใช้สารสื่อสารข้อมูลหลายสายในการสื่อสารข้อมูลช่องทางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์แบบ ISDN ทั่วไปจะมีช่องทางการสื่อสารขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาทีอยู่สองช่องทาง ถ้ามีโปรแกรมหรือุปกรณ์สามารถทำ inverse multiplexing ได้จะทำให้สามารถใช้ช่องทางทั้งคู่ในการส่งข้อมูลหนึ่งๆ ได้โดยมีความเร็วเพิ่มเป็น 128 กิโลบิตต่อวินาที
IP address หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิธีการกำหนดหมายเลขไอพีได้มีการกำหนดเป็นมาตรฐานเกียวกันทั้งอนเตอร์เน็ตไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ 
ขนาดใหญ่หรือเป็นเพียงเครื่องพีซีธรรมดา หมายเลขไอพีจะต้องมีตัวเลขสี่ตัวคั่นด้วยจุด เช่น 35.8.2.61
Internet Relay Chat (IRC) กลุ่มผลัดเปลี่ยนพูดคุยในอินเทอร์เน็ต (ไออาร์ซี) 
การพูดคุยในอินเทอร์เน็ตในเวลาจริง ที่ผู้ใช้อีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่คนละซีกโลกได้ทันที การใช้กลุ่มผลัดเปลี่ยนพูดคุยในอินเทอร์เน็ตนี้ ผู้ใช้ต้องมีโปรแกรมลูกค้าของไออาร์ซีซึ่งจะแสดงรายการของ "ช่องสัญญาณ" (channels) ปัจจุบันของไออาร์ซี ชื่อของแต่ละช่องสัญญาณจะสร้างขึ้นโดยผู้ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคและให้ชื่อไว้
JFIF JPEG File Interchange Format เป็นไฟล์รูปภาพที่ผ่านการบีบอัดโดยวิธีของ JPEG มาแล้ว
JPEG Joint Photographic Experts Group เจเพ็กเป็นรูปแบบไฟล์รูปภาพชนิดหนึ่งที่ยอมให้ทำการบีบอัดในอัตราสูง วิธีการบีบอัดเจเพ็กจะทำให้มีการสูญเสียข้อมูลไปบางส่วนแต่ก็จะลดขนาดของไฟล์ลงได้มาก โปรแกรมไฟล์เจเพ็กจะทำงานช้ากว่าโปรแกรมที่ใช้แสดงไฟล์กิฟ
Jughead จั๊กเฮด บริการค้นหาในโกเฟอร์ (Gopher) ที่ทำให้เราสามารถค้นเนื้อที่โกเฟอร์ (Gopherspace) ทั้งหมดเพื่อให้คำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่องสารบบ ถ้าต้องการทั้งชื่อเสียงสารบบและชื่อในเมนูควรใช้โปรแกรมเวโรนิคา (Veronica)
lossy compression วิธีบีบอัดแบบลอซซี่เป็นวิธีบีบอัดข้อมูลที่ไม่รับรองว่าจะนำข้อมูลเดิมกลับมาได้ทุกบิตหรือไม่ JPEG เป็นวิธีบีบอัดแบบลอซซี่ที่ใช้กับไฟล์รูปภาพ เมื่อบีบอัดแล้วคุณภาพของรูปจะเสียไป ผู้ใช้ต้องเลือกสัดส่วนของคุณภาพก่อนทำการ 
บีบอัด แต่ถึงแม้ว่าจะมีการสูญเสียข้อมูลไปบ้างคุณภาพของรูปบางรูปก็ไม่ตกลงไปมากนัก
Local Area Network (LAN) ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่(แลน) 
การนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ที่อยู่ภายในบริเวณที่จำกัดเฉพาะที่ เช่น ภายในอาคารหือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน มาเชื่อมโยงกันโดยสารเคเบิล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้อุปกรณ์รอบข้าง 
ร่วมกัน รวมถึงใช้โปรแกรมและข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจที่เรียกว่า "เครื่องบริการแฟ้ม" (file server) การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ได้เนื่องจากสามารถใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ของข่ายงานได้โดยไม่ต้อง 
เสียเงินซื้อของตนเอง ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่นี้จะมีขนาดและความซับซ้อนต่างๆ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่บางแห่งจะเป็นลักษณะ 
กลุ่มเล็กๆ เรียกว่า "ข่ายงานสถานะเท่าเทียมกัน" (peer-to-peer) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 2-3 เครื่องและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ 
เท่านั้น แต่ในบางแห่งที่มีลักษณะข่ายงานซับซ้อนขึ้นจะมีคอมหพิวเตอร์ส่วนหลางเป็นเครื่องบริการแฟ้ม และให้ผู้ใช้สามารถ ใช้โปรแกรมและเข้าถึงข้อมูลจากเครื่องบริการแฟ้ม และสื่อสารระหว่างกันโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
man pages แมนเพจเป็นหน้าเอกสารที่บอกรายละเอียดการใช้งานคำสั่งในยูนิกส์ซึ่งสามารถเรียกดูได้แบบออนไลน์ ซอฟต์แวร์ที่ทำงานภายใต้ระบบยูนิกซ์มักจะเตรียมเอกสารแมนเพจไว้และติดตั้งลงไปพร้อมกับตัวซอฟต์แวร์ 
login name ชื่อลงบันทึกเข้า ชื่อเฉพาะที่ผู้บริหารระบบกำหนดให้แก่ผู้ใช้แต่ละคนในข่ายงานเพื่อใช้ในการระบุว่าเป็นใคร เราต้องพิมพ์ชื่อและรหัสผ่านเพื่อเข้าไปในระบบได้
MIME Multipurpose Internet Mail Extension ไมม์เป็นส่วนขยายความสามารถของอินเตอรเน็ตมาตรฐานเก่า (ตามเอกสาร RFC 822) เพื่อให้สามารถแทรกข้อมูลไบนารีลงไปใช้ในข้อความของอีเมลล์ได้ มีผู้เสนอแนวความคิดนี้ตั้งแต่ปี 1992 และได้มีการนำมาใช้บนเครื่องหลายแบบ (มักจะมีชื่อว่า Meramail) และได้รับการยอมรับมากขึ้นว่าควรใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลมัลติมิเดียระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่งกันได้ ไม่ว่าข้อมูลจะถูกส่งโดยอีเมลล์หรือไม่ก็ตาม
mirror บริการเงาเป็นบริการหนึ่งที่เกิดจากการคัดลอกบริการอื่น เช่นโหนดๆ หนึ่งอาจให้บริการโกเฟอรหรือเอฟทีพีของอีกโหนดหนึ่ง การจัดตั้งบริการเงานืมักทำกับโหนดที่มีผู้ใช้มากเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการ
Mosaicโมเซอิกเป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานหลายจุดประสงค์ที่พัฒนาโดยศูนย์แอพลิเคชั่นซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ 
(the 
National Center foe Supercomputing Application) โมเซอิกทำงานเป็นไคลเอน็นต์ของบริการบนอินเตอร์เน็ตได้หลายบริการ 
เช่น โกเฟอร์ เวยส์ เว็บ ข่าวยูสเน็ต และเอฟทีพีในระยะแรกพัฒนาขึ้นบนยูนิกซ์ ที่มีความสามารถในการแสดงกราฟฟิก แบบเอ็กซ์วินโดวส์และโมทีพ ปัจจุบันได้มีเวอร์ชั่นบนแมคอินทอชและไม่โครซอฟต์วินโดวส์
MPEG รูปแบบของไฟล์ที่คล้ายกับ JPEG แต่เป็นมาตรฐานไฟล์ของภาพเคลื่อนไหว (มาตรฐาน MPEG-2) จะสามารถเก็บเสียง 
ในฟิล์มได้ด้วย) multiplex วิธีการส่งข้อมูลหลายชุดไปบนสื่อตัวเดัยวกัน เช่นสายเคเบิลโคแอกเซียลแบบบรอดแบนด์ หรือสายไฟเบอร์ออพติกเพียงเส้นเดียวมักจะนำข้อมูลได้หลายช่องทาง
modem โมเด็ม modem เป็นคำที่ย่อมาจาก "modulator" และ "demodulator" หมายถึง ตัวกล้ำและแยกสัญญาณโมเด็มเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิทอลให้เป็นสัญญาณอะนะล็อก เพื่อสามารถส่งผ่านไปทางสายโทรศัพท์ได้ และก็เช่นเดียวกันแปลงสัญญาอะนะล็อกที่ส่งมาให้กลับเป็นสัญญาณดิจิทอลได้ ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิทอล แต่โทรศะพท์ทำงานในระบบอะนะล็อก ดังนั้น เมื่อจะส่งข้อมูลในระบบดิจิทอลจากคอมพิวเตอร์ผ่านไปทางสายโทรศัพท์ จึงต้องใช้โมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นสัญญาญอะนะล็อกเสียก่อนจึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ และเมื่อสัญญาณนั้นส่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องปลายทางนั้นก็ต้องมีโมเด็มเพื่อเแปลงสัญญาณอะนะล็อกที่ส่งมาให้กลับเป็นสัญญาณดิจิทอลอีกครั้งหนึ่งก่อน 
ที่จะส่งเข้าคอมพิวเตอร์ได้ เรามักจะใช้โมเด็มในการแลกเปลี่ยนโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ หรือใช้ในการบริการสารสนเทศเชื่อมตรงเพื่อรับข่าวสารข้อมูลต่างๆ 
ความเร็วโมเด็มใช้ในการส่งข้อมูลวัดเป็นหน่วยเรียกว่า "บิตต่อวินาที" (bits per second : bps ) ซึ่งในทางเทคนิคแล้วจะไม่เป็นสิ่งเดียวกับ "บอด" (baud) ถึงแม้ว่าคำนี้จะมีการใช้สับเปลี่ยนกันได้ก็ตามโมเด็มจะมีความเร็วในการทำงานแตกต่างกันในแต่ละเครื่อง ตั้งแต่2,400 บิตต่อวินาทีถึงเร็วสูงสุด 28,800 บิตต่อวินาที
name server เนมเซิร์ฟเวอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำการค้นหาข้อมูลในระบบชื่อโดเมนให้กับไคลเอ็นต์ เมื่อคุณเชื่อมต่อไปยังโฮสต์บนอินเตอร์เน็ตด้วยการกำหนดชื่อโดเมน ซอฟต์แวร์ที่เครื่องของคุณจะสอบถามเนมเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระบบ ซึ่งเนมเซิร์ฟเวอร์ของคุณอาจจะค้นหาเลขไอพีให้ได้ (ถ้าหมายเลขนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของเนมเซิร์ฟเวอร์) หรือสามารถบอกเครื่องของคุณได้ว่าจะไปหาหมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้องการติดต่อได้จากเนมเซืร์ฟเวอร์ใด 
The netเน็ตเป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกโลกของข้อมูลออนไลน์ บางครั้งก็หมายถึงอินเตอร์เน็ตบางครั้งก็มีความหมายกว้างกว่า ถ้ามีคนพูดว่า "ผมพบวิธีแกปัญหาวินโดว์ของผมบนเน็ต" อาจจะหมายความว่าเขาได้คำตอบจากข่าวยูสเน็ตหรือเมลลิ่งงิสต์ ถ้าข้อมูลใด "อยู่ในเน็ต" อาจจะหมายความว่าจะใช้ข้อมูลนั้นได้โดยโกเฟอร์ เวิล์ดไวด์เว็บ หรือ anonymous FTP
NIC (Network Information Center) ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายหรือนิค ผลงานของนิคที่ช่วยสนับสนุนอินเตอร์เน็ตมีอยู่เป็นเวลาหลายปีแล้ว ปัจจุบันงานของนิคที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ InterNIC ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มี NFS เป็นผู้ให้ทุน สามารถหารายละเอียดบริการของ InterNIC ได้จากโกเฟอร์ (is.internic.net หมายเลขพอร์ต 70)
NIC Network Interface Card การ์ดติดต่อกับเครือข่าย เป็นชื่อทั่วไปของฮาร์ดแวร์การ์ดที่เสียงลงในคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายท้องถิ่น มีผู้ผลิตการ์ดสำหรับติดต่อกับเครือข่าย 
มากกว่า 100 แห่งบนเครื่องพีซี และเครื่องพีซีบางเครื่องก็มีวงจรติดต่อกับเครือข่ายอยู่ในตัวแล้ว
NNTP Network News Transmission Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งข่าวในเครือข่ายของยูสเน็ต
node บัพ, จุดต่อ , ปม , ข้อ 
จุดเชื่อมในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่สามารถสร้าง รับ หรือซ้ำข้อความ จุดต่อนี้จะเป็นจุดที่สถานีงานเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการแม่ข่าย ในจุดต่อจะมีเครื่องซ้ำสัญญาณ เครื่องบริการแฟ้มและอุปกรณ์รอบข้างที่ใช้ร่วมกัน
packet แพคเก็ตเป็นกลุ่มข้อมูลที่ส่งไปพร้อมๆ กันในเครือข่าย เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มข้อมูลที่ส่งในเครือข่ายทั่วไปทั้งในอีเธอร์เน็ต ในไอพี และในเครือข่ายชนิดอื่น
packet switching networkเป็นชนิดของเครือข่ายที่ใช้วิธีแยกส่งแพคเก็จแต่ละแพคเก็ตไปตามเส้นทางต่างๆ ข้อมูลเริ่มส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอาจถูกแยกเป็นแพคเก็ตหลายแพคเก็ตและส่งไปตามเส้นทางที่ต่างกันออกไปได้
pager เพจเจอร์เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลไฟล์ในไฟล์ทีละหนึ่งหน้าจอ เพจเจอร์ที่นิยมใช้ในระบบยูนิกซ์คือโปรแกรม "more" และโปรแกรมที่ได้รับการปรับปรุงจาก more คือ less ที่สามารถเลื่อนข้อมูลไปข้างหน้าและถอยหลังได้ ให้ดูที่คำว่า browser เพิ่มเติม
PH เป็นโปรแกรมไคลเอ็นต์ที่สามารถค้นข้อมูลสมุดโทรศัพท์ประเภท CSO ได้
platform แพลตฟอร์มหมายถึงสภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARCstation, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180
PostScript โพสต์สคริปต์เป็นภาษาสำหรับเครื่องพิมพ์จากบริษัทอโดบี เป็นภาษาที่ใช้กันมากในงานพิมพ์แบบเดสค์ท็อป เอกสารที่อยู่ในรูปของโพสต์สคริปต์มักจะมีการแลกเปลี่ยนกันในอินเตอร์เน็ตและนำมาพิมพ์ออกเครื่องพิมพเลเซอร์
PPP Point-to-Point Protocol พีพีพีเป็นโปรโตคอลใหม่เพื่อให้มีการส่งข้อมูลแบบทีซีพี/ไอพีข้ามการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดได้ การใช้งานที่ใช้กันมากที่สุดคือการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ ผู้ใช้จะทำงานได้เหมือนกับการเชื่อมต่อกับ 
เครือข่ายโดยตรง ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเตอร์เน็ตไคล์เอ็นต์ทั่วไปได้เช่นโกเฟอร์ไคลเอ็นต์ได้ผ่านทางสายโทรศัพท์ ถ้าไม่มีพีพีพีผู้ใช้จะต้องหมุนโทรสัพท์ไปที่โอสต์หรือที่พับบลิกไคลเอ็นต์ด้วยการใช้โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินัล (มักเป็นเทอร์มินัล 
แบบ VT 100)
PEM Privacy Enhanced Mail เป็นมาตรฐานที่ถูกเสนอให้เป็นวิธีเข้ารหัสอีเมลล์บนอินเตอร์เน็ต
provider โพรไวเดอร์ใช้ในความหมายสองความหมาย 1) หมายถึงผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เช่นองค์กรที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตกับบุคคลหรือองค์กรอื่น และ 2) หมายถึงผู้ให้บริการข้อมูล ซึ่งเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการจัดส่งข้อมูลไปยังผู้อื่น
public client พับบลิกไคลเอ็นต์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ยอมให้ผู้ใช้ติดต่อเข้ามา (โดยมักจะใช้เทลเน็ตในการติดต่อ) ใช้ไคลเอ็นต์โปรแกรมได้โดยผู้ใช้ไม่ต้องมีไคลเอ็นต์โปรแกรมนี้ในเครื่องของตัวเอง ซึ่งทำให้ใช้บริการอื่นได้มากขึ้น แต่มักจะเสียความสามารถบางอย่างไป(เช่นไม่สามารถแสดงผลแบบกราฟฟิกได้)
QI Query Interpreter ตัวแปรคำสั่งค้นหา เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ค้นหาข้อมูลประเภทสมุดโทรศัพท์ให้กับไคล์เอ็นต์ เช่น โปรแกรม PH
RFC Request for Comments อาร์เอฟซีเป็นเอกสารที่ใช้ในการเสนอแนะและประกาศมาตรฐานขอโปรโตคอลในอินเตอร์เน็ต จะมีความหมายเรียงลำดับเอกสารไว้
resolver เป็นซอฟต์แวร์บนเครื่องไคลเอ็นต์ที่ต่างกับระบบชื่อโเมนเพื่อเปลี่ยนชื่อโฮสต์ให้เป็นหมายเลขไอพี
resource discovery เป็นขั้นตอนในการเอกสารหรือบริการที่มีประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ใช้ในความหมายสองความหมายคือ การค้นหาอย่างมีจุดประสงค์ซึ่งผู้ใช้ทราบอยู่แล้วว่าต้องการอะไรในการค้นหา และการค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่ผู้ใช้เบราเซอร์ค้นหาข้อมูล
router เราเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่กำหนดเส้นทางทางส่งแพคเก็ตที่รับมาจากเครือข่ายหนึ่งไปยังเครือข่ายอื่น โดยจะต่ออยู่ระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายระยะกว้างทำให้เกิดเครือข่ายของเครือข่ายย่อยๆ เราเตอร์ในอินเตอร์เน็ตอย่างน้อยจะต้องรู้วิธีการกำหนดเส้นทางของไอพีแพคเก็ต เราเตอร์บางตัวก็สามารถที่จะกำหนดเส้นทางของโปรโตคอลได้หลายแบบเรียกว่าเป็น "multiprotocol router" เช่นสามารถที่จะกำหนดเส้นทางของข้อมูลทั้งที่อยู่ในไอพีและ เน็ตแวร์ IPX ความแตกต่างระหว่างเราเตอร์กับบริดจ์อยู่ที่การทำงาน บริดจ์จะมีระดับการทำงานระดับต่ำกว่า โดยทำงานอยู่ที่ "media control layer" (เช่นในระดับอีเธอร์เน็ต)
remote control program โปรแกรมควบคุมระยะไกล 
โปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ให้เราเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องได้เพื่อสามารถใช้เครื่องหนึ่งเพื่อควบคุมอีกเครื่องหนึ่ง
selector string ตริงตัวเลือกเป็นกลุ่มตัวอักขระที่มีอยู่ในเมนูของโกเฟอร์แต่ละรายการสตริงตัวเลือก จะถูกส่งไปยังโกเฟอร์ไคลเอ็นต์โปรแกรมพร้อมด้วยชื่อของเอกสาร, หมายเลขไอพีของโฮสต์และหมายเลขทีซีพีพอร์ต ทีมีโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์ทำงานอยู่ เมื่อผู้ใช้เลือกรายการในเมนู ไคลเอ็นต์จะส่งสตริงตัวเลือกนี้กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เซิร์ฟเวอร์ทราบว่าจะต้องส่งไฟล์ใดไปยังไคลเอ็นต์ สตริงตัวเลือกเองไม่มีความหมายใด ๆ ต่อโปรแกรมไคลเอ็นต์บางครั้ง 
ก็เรียกว่า "path"
SGML Standard Generalized Markup Language ภาษา SGML เป็นข้อกำหนด (เช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO) ที่กำหนดวิธีการอธิบายโครงสร้างของเอกสารฝังไว้ในตัวเอกสารเอง หมู่นักศึกษา, อาจารย์ และผู้จัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้ SGML ในการสร้างรูปแบบต่าง ๆ จากเอกสารฉบับเดียว และใช้ในการนำเอาเอกสารมาใช้ใหม่ ภาษา () ที่ใช้ในเวิลด์ไวด์เว็บก็ถือว่าเป็นภาษา SGML ประเภทหนึ่ง
SLIP Serial Line IP สลิปเป็นโปรโตคอลที่ทำการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ ทำให้ใช้บริการของทีซีพี/ไอพีผ่านสายโทรศัพท์ได้ โปรโตคอลใหม่ที่ดีกว่าคือ PPP กำลังมาแทน SLIP
SMTP Simple Mail Transfer Protocol โปรโตคอลการส่งเมลล์อย่างง่ายเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งเมลล์บนโปรโตคอลทีซีพี/ไอพีเช่นในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรัยโปรแกรมที่ชื่อ SMTP แต่โปรแกรมอีเมลล์ทั่วไปจะรู้วิธีใช้โปรโตคอลนี้
Snail mail สเนลเมลล์หมายถึงวิธีการส่งเอกสารสิ่งพิมพ์ทั่วไป เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้แตกต่างจากอีเมลล์
Surfing การโต้คลื่นเป็นคำที่รเยกการค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตโดยไม่มีจุดประสงค์ที่แน่นอนจากเอกสารหนึ่ง ไปยังอีกเอกสารหนึ่งและจากโฮสต์หนึ่งไปยังอีกโฮสต์หนึ่ง ไคลเอ็นต์ประเภทโกเฟอร์ทำให้เกิดคำว่าโต้คลื่นขึ้นเพราะเป็นโปรแกรมที่ทำให้การท่องไปในอินเตอร์เน็ตทำได้โดยง่าย
Sysop System Operator โอเปอร์เรเตอร์ระบบเป็นชื่อที่ใช้ในกลุ่มผู้ใช้ระบบกระดานข่าวหมายถึงผู้ดูแลระบบ BBS ในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะใช้คำว่า ผู้บริหารระบบ "system manager" หรือ ผู้ดูแล "system administrator" สำหรับผู้ที่จัการเรื่องระบบคอมพิวเตอร์,ใช้คำว่าผู้บริหารเครือข่าย " network manager" สำหรับผู้จัดการเครือข่าย และผู้ไกล่เกลี่ย "moderator" หรือเจ้าของลิสต์ "list owner" สำหรับผู้ดูแลเมลลิ่งลิสต์
System administrator เป็นผู้ที่ดูแลและบริหารระบบปฏิบัติการและโปรแกรมหลัก ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ มักจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านการเขียนโปรแกรม เทียบได้กับคำว่า นักโปรแกรมระบบ "system programmer" ในสมัยของเมนเฟรม
TCP/IP Transmission Control Protocol/Internet Protocol ในทางเทคนิคแล้วทีซีพีและไอพีเป็นโปรโตคอลสองโปรโตคอลที่ต่างกัน เมื่อนำมาใช้งานร่วมกันจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกันได้ การส่งข้อมูลไปในเรื่อข่ายของทีซีพี/ไอพีมีความเชื่อถือได้สูง การเชื่อมต่อด้วยทีซีพี/ไอพีจะต้องเชื่อมต่อกับ "พอร์ต" (เช่นโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์มักจะใช้พอร์ตหมายเลข 70) ซึ่งทำให้เครื่องหนึ่งเครื่องสามารถเชื่อมต่อ่ได้หลายช่องทาง
TN3270 เป็นโปรแกรมที่คล้ายกับเทลเน็ต สามารถติดต่อกับเครื่องไอบีเอ็มเมนเฟรมที่ใช้เทอร์มินัลแบบ 3270 ผ่านทีซีพี/ไอพีได้ 
Trojan Horse ม้าโทรจัน เป็นชนิดของโปรแกรมที่จู่โจมระบบคอมพิวเตอร์ โดยมักจะหลอกลวงว่าเป็นโปรแกรมปกติ ตัวอย่างเช่นอาจจะเป็นโปรแกรมที่แสดงหน้าจอให้ล็อกอินเหมือนในระบบทั่วไป
Talk ทอล์ก 
หนึ่งในเจ็ดของลำดับชั้นกลุ่มอภิปรายมาตรฐานในยูสเน็ต กลุ่มอภิปรายนี้จะมีการแสดงออกเกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังเป็นที่โต้เถียงกันและมักจะเป็นการถกเถียงกันอย่างรุนแรง
Telnet เทลเน็ต 
กฎเกณฑ์ในอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถลงบันทึกเปิดในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เชื่อมโยงกันในอินเทอร์เน็ตได้ รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถสื่อสารโดยตรงกับกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) ได้ โดยที่เทลเน็ตจะสร้างคอมพิวเตอร์เครื่องปลายทางเรียกว่า "เครื่องปลายทางเสมือนข่ายงาน" (network virtual terminal) ขึ้นมา ความสามารถนี้จะใช้กันบ่อย เพื่อให้ติดต่อสื่อสารกับระบบศูนย์รวมข่าว (BBS) และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ ตัวอย่างเช่นเรามักจะเห็นจุดเชื่อมโยงหลายมิติ(hyperlinks) ไปยังเทลเน็ตอยู่บ่อย ๆ ในขณะที่เลือกอ่านในเวิลด์ไวด์เว็บ ถ้าเราคลิดที่จุดเชื่อมโยงนั้น การเลือกอ่านของเราจะเริ่มต้นโปรแกรมผู้ช่วยในเทลเน็ต และเราจะเห็นหน้าต่างคำสั่งที่มีเฉพาะข้อความ 
ขึ้นในหน้าต่างนี้เราสามารถพิมพ์คำสั่งและดูการตอบสนองของระบบระยะไกลได้
Uniform Resource Identifler (URI) ชื่อประจำตัวทรัพยากรร่วมเป็นคำกว่าง ๆ ที่ใช้อธิบายทรัพยากรรอินเตอร์เน็ตที่เป็นมาตรฐาน หน่วยวิศวกรรมอินเตอร์เน็ตกำลังประดิษฐ์ การกำหนดตำแหน่งของทรัพยากรร่วม (Uniform Resource Locator) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตั้งชื่อเอกสารที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์เรื่องหนึ่ง ๆ (เทียบได้กับหมายเลข ISBN) มาตรฐานอีกมารฐานหนึ่งคือชื่อทรัพยากรร่วม (Uniform Resource Name) จะเป็นชื่อของเอกสาร หรือทรัพยากรที่ไม่ขึ้นกับที่เก็บ URI บางชนิดอาจจะใช้ในการอ้างอิงถึงเอกสารอื่นแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบออนไลน์ 
Uniform Resource Locator (URL) การกำหนดตำแหน่งของทรัพยากรร่วมเป็นชื่อประจำตัวของเอกสารหรือบริการบนอินเตอร์เน็ต ใช้ในกลุ่มผู้ใช้เวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐาน URI จะรวมเอา URI เข้าไว้ด้วย
Union list ยูเนี่ยนลิสต์เป็นลิสต์ที่เกิดจากการรวมลิสต์มากกว่าหนึ่งลิสต์เข้าด้วยกันบรรณารักษ์มักใช้คำนี้เมื่อทำการรวมรายชื่อหนังสือเข้าด้วยกันเป็นรายชื่อหนังสือที่ครบสมบูรณ์ ผลที่ได้จะเป็นรายชื่อหนังสือที่มีทั้งหมด เพิ่งจะเริ่มมีการนำมาใช้ในอินเตอร์เน็ต 
Usernet News ข่าวยูสเน็ตเป็นระบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านอินเตอร์เน็ต ในระบบข่าวยูสเน็ตจะประกอบไปด้วย โปรแกรมส่งข่าวที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ใดเซิร์ฟเวิอร์หนึ่ง และโปรแกรมอ่านข่าว (ซึ่งเป็นโปรแกรมไคลเอ็นต์ที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรโตคอล NNTP)
Usenet ยูสเน็ต 
ย่อมาจาก Users network ระบบศูนย์รวมข่าวขนาดใหญ่ และชั้นนำที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบยูนิกซ์และเชื่อมโยงผ่านอินเทอร์เน็ตและข่ายงานคอมพิวเตอร์อื่น ๆ คาดว่า จะมีผู้ใช้ยูสเน็ตในแต่ละวันมากกว่า 15 ล้านคนในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก 
ภายในยูสเน็ตจะประกอบด้วยกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มสนทนาในหัวข้อทุกเรื่องและยังมีเรื่องที่เรานึกไม่ถึงอีกด้วย โดยที่แต่ละกลุ่มอภิปรายจะรวมความคิดมุ่งไปในเรื่องเฉพาะ เช่น รถแข่ง อาวุธปืน การเมือง เพลงแจ๊ส ประวัติศาสตร์อเมริกัน เหล่านี้เป็นต้น ผู้ใช้ยูสเน็ตสามารถอ่าน ข้อความและตอบไปยังกลุ่มอภิปรายเหล่านั้นได้
VAN Value Added Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนอกเหนือไปจากการเป็นช่องทางส่งข้อมูลธรรมดา เช่นให้บริการอีเมลล์ เมลลลิ่งลิสต์ และมีเครื่องมือเข้าใช้ข้อมูลเช่น โกเฟอร์ เวิลด์ไวด์เว็บและเวย์ส
Veronica เวอรอนิก้าเป็นบริการรบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้สร้างดัชนีชื่อเอกสารในโกเฟอร์ พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเนวาดา เซิร์ฟเวอร์ของเวอรอนิก้าจะทำการติดต่อไปยังโกเฟอร์ทั้งหมดที่มันสามารถติดต่อได้และสร้างดัชนีของชื่อเอกสารมาตรฐานที่นำไปใช้ในโกเฟอร์ได้
Virtual library ห้องสมุดเสมือนเป็นแหล่งเก็บหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบในเครือข่าย มักจะหมายถึงวิธีการเข้าใช้เอกสารออนไลน์ทั้งหมดจากห้องสมุดหลายแห่ง ทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหนังสือ ทุกเล่มที่มีในห้องสมุดทั้งหมดได้
VT 100 เป็นโปรโตรคอลหลักที่ทำให้ผู้ใช้สั่งงานเทอร์มินัลได้เต็มหน้าจอ มาตรฐาน VT 100 กำหนดขึ้นโดยบริษัท Digital Equipment Corporationในช่วงทศวรรษ 1970 โปรแกรมจำลองเทอร์มินัลส่วนมาก( เช่นเคอร์มิท โปรคอม ) จะจำลองโปรโตคอล VT100 หรือโปรโตคอลที่ใหม่กว่าเช่น VT220, VT320
v.fast ( อ่านว่า วี - ดอท - ฟาสต์ ) เป็นคำที่ใช้เรียกโมเด็มรุ่นต่อไปที่จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 28,000 บิตต่อวินาที
V.32/V.32 bis เป็นคู่มาตรฐานสากลของโมเด็มที่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ 14,400 บิตต่อวินาที ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้มักจะใช้มาตรฐาน V.32/V.32 bis ร่วมกับมาตรฐาน V.42 ที่มีความสามารถในการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดจากการส่งและสามารถส่งข้อมูลได้มากถึง 57,600บิตต่อวินาที
V.42 มาตรฐานสากลสำหรับการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่ผิดผลาดจากการส่งผ่านโมเด็ม
V.42 bis มาตรฐานสากลสำหรับการบีบอัดข้อมูลก่อนการส่งของโมเด็ม
Verinica เวโรนิคา 
บริการค้นหาในโกเฟอร์ (Gopher) ที่ตรวจฐานข้อมูลของหัวเรื่องสารบบโกเฟอร์และทรัพยากรต่างๆ เช่น เอกสาร ภาพกราฟฟิก 
ภาพยนตร์ และเสียง เป็นต้น แล้วก่อให้เกิดรายการเลือกใหม่ในโกเฟอร์ที่บรรจุผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหานั้นไว้
WAIS Wide Area Information Servers เวย์สเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหาค้นเอกสารจากเวย์ส เซิร์ฟเวอร์หลายๆ เซิร์ฟเวอร์เวย์สทำงานตามมาตรฐาน Z39.50-1988 เริ่มนำมาใช้งานและทำให้แพร่หลายโดยบริษัท Thinking Machines Corporation ปัจจุบันเวย์สมีทั้งรุ่นที่ขายโดยบริษัท WAIS, Inc. และรุ่นที่เป็นพับบลิกโดเมน ( โดย Clearinghouse for Networked Information 
Discory and Retrieval) โกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์สามารถเรียกใช้เวย์สในการค้นข้อมูลได้และดัชนีในโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์บนยูนิกซ์ สามารถชี้ไปยังเวย์สเซิร์ฟเวอร์ได้
White pages ไวท์เพจเจสเป็นบริการรายชื่อที่จัดรูปแบบสมุดโทรศัพท์ คือจัดเรียงขอ้มูลตามชื่อของบุคคล ที่อยู่ หรือตามทรัพยากรที่ต้องการค้นหา
Whois ฮูอีสเป็นโปรโตคอลอย่างง่าย( และซอฟต์แวร์ ) ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลในบริการรายชื่อ Whois++ ในอินเตอร์เน็ต ฮูอีสใช้ในการค้นหาอินเตอร์เน็ตโฮสต์ที่ลงทะเบียนไว้กับ InterNic และเป็นเครื่องมือในการจัดพิมพ์ข้อมูลรายชื่อต่างๆ บนโฮสต์หลายที่ในอินเตอร์เน็ต
wide area network เครือข่ายระยะกว้างเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง เช่น คลุมทั่วจังหวัด คลุมทั้งประเทศหรือระหว่างประเทศ
World-Wide Web เวิล์ดไวด์เว็บเป็นระบบการจัดส่งเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ผ่านเครือข่ายพัฒนาขึ้นโดย CERN ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง () สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังเอกสารอื่นจากเอกสารหนึ่งได้ ซึ่งโกเฟอร์ไม่สามารถทำได้
Web เว็บ 
ชุดของเอกสารที่เกี่ยวข้องกันในเวิล์ดไวด์เว็บหรือในระบบไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ใดๆ ที่เอกสารเหล่านี้มารวมอยู่ด้วยกัน และมีการนำเสนอในลักษณะไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยที่เอกสารเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเก็บอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์เดียวกันก็ได้ แต่จะมีการเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเห็นได้ชัด และมีการสำรวจภายในเอกสารด้วยปุ่มสำรวจ 
(navigation buttons) โดยปกติแล้วเว็บจะรวมเอาหน้าต้อนรับ (welcome page) ที่ให้บริการเหมือนกับเอกสารระดับบนที่เรียกว่า 
("home page") ของเว็บไว้ด้วย
Web browser การเลือกอ่านในเว็บ 
โปรแกรมสำหรับดำเนินการบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และจัดหาการเข้าถึงไปยังเวิล์ดไวด์เว็บ การเลือกอ่านในเว็บ 
จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ หารเลือกอ่านเฉพาะข้อความ (text-only browser) และการเลือกอ่านแบบกราฟฟิก (graphical Web browsers) ดังเช่นการใช้ในโปรแกรมเอ็นซีเอสเอ มอเซอิก (NCSA Mosaic) และเน็ตสเคป นาวิเกเทอร์ (Netscape Navigator) การเลือกอ่านแบบกราฟฟิกจะเป็นที่นิยมใช้มากกว่าเนื่องจากเราสามารถเห็นภาพกราฟฟิก แบบอักษรและการจัดหาหน้าเอกสารได้
Web server เครื่องบริการเว็บ 
โปรแกรมที่รับการร้องขอ (request) สำหรับสารสนเทศที่เป็นไปตามกฏเกณฑ์ในการส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (HTTP) ในเวิล์ดไวด์เว็บ เครื่องบริการจะประมวลการร้องขอเหล่านี้และส่งเอกสารไปให้ตามที่ร้องขอเครื่องบริการเว็บได้มีการพัฒนาไว้สำหรับระบบ 
คอมพิวเตอร์เกือบทุกระบบ รวมถึงสถานียูนิกซ์, ระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ 95, ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ เอ็นที และระบบแมคอินทอช
Web site ที่ตั้งเว็บ 
ระบบคอมพิวเตอร์ในเวิล์ดไวด์เว็บที่ดำเนินงานเครื่องบริการเว็บ และได้รับการจัดไว้สำหรับเอกสารในเว็บด้วย
Whois ฮูอีส 
โปรแกรมอรรถประโยชน์ในยูนิกซ์ที่ดำเนินงานโดยเครื่องบริการฮูอีส (whois server) ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถหาที่ตั้งของเลขที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงสารสนเทศอื่นๆ ของบุคคลที่มีบัญชีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์เดียวกันได้ด้วย
Whois server เครื่องบริการฮูอีส 
โปรแกรมอินเทอร์เน็ตที่รับการร้องขอที่เข้ามาสำหรับเลขที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และหมายเลขโทรศัพท์ และพยายามจัดหารสารสนเทศเหล่านี้โดยการค้นหาฐานข้อมูลและของผู้ถือบัญชีเหล่านี้ให้
Wide Area Information Server (WAIS) เครื่องบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง (เวส) 
ระบบที่ใช้ฐานยูนิกซ์ (UNIX-based system) ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต โดยที่โปรแกรมจะให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเอกสารที่เก็บถาวรทั่วโลกสำหรับทรัพยากรที่เป็นชุดของคำสำคัญ
Wide Area Network (WAN) ช่วยงานบริเวณกว้าง (แวน) 
ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมากแต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยยการใช้การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างดันประมาณ 
2 ไมล์ ซึ่งไกลกว่าข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน
Winsock วินช็อก 
ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) ที่ยอมให้วินโดวส์สามารถติดต่อกับกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านข้อความไปมาระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในระบบวินโดวส์ได้
World Wide Web (WWW,W3) เวิล์ดไวด์เว็บ 
ระบบข้อความหลายมิติหรือไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext system) ทั่วลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านข้อมูลในระบบไฮเพอร์เท็กซ์ เราสามารถทำการสำรวจได้โดยใช้จุดเชื่อมโยง 
หลายมิติ (hyperlink) เพื่อแสดงเอกสารอกีฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้อ่านโดยที่เอกสารนั้นจะบรรจุจุดเชื่อมโยงไว้เช่นกัน
xbm ไฟล์ประเภทบิตแมพของเอ็กซ์วินโดวส์เป็นรูปแบบการเก็บรูปภาพของกลุ่มผู้ใช้โปรโตคอล X
X Window เป็นมาตรฐานการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกผ่านเครือข่ายทีซีพี/ไอพีพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซสและ X consortium วิธีการทำงานของเอ็กซ์วินโดวส์จะตรงกันข้ามกับวิธีการทำงานแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์กล่าวคือ เอ็กซ์เซิร์ฟเวอร์จะทำงานอยู่ที่เครื่องของผู้ใช้และคอยรับการติดต่อจากเอ็กซ์ไคลเอ็นต์ที่อาจจะทำงานอยู่ที่เครื่องอื่นเพื่อให้ไคลเอ็นต์ 
ควบคุมหน้าจอของเครื่องผู้ใช้และรอรับคำสั่งจากผู้ใช้ โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นจำนวนมาก ทำงานภายใต้เอ็กซ์วินโดวส์ คำว่าเอ็กซ์วินโดวส์บางครั้งก็เรียกสั้นๆ โดยใช้คำว่าเอ็กซ์เท่านั้น ในทางเทคนิคแล้วเอ็กซ์เป็นเพียงโปรโตคอล หรือข้อกำหนดในการ 
ติดต่อ เท่านั้น ต้องมีโปรแกรมที่เรียกว่า ผู้จัดการวินโดวส์ (window manager) ทำงานอยู่ด้วยจึงจะใช้งานเอ็กซ์ได้
X.25 เป็นโปรโตคอลการสื่อสารที่นิยมใช้ในเครือข่ายข้อมูลระหว่างทศวรรษ 1970 และ 1980 ปัจจุบันยังคงมีใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างจุดสองจุดในเครือข่าย
X.400 เป็นมาตรฐานในการกำหนดแอดเดรสและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอีเมลล์ วิธีการกำหนดเอดเดรสของ X.400 เป็นลำดับชั้น 
(hierachical) ใช้งานได้กว้างและคนป้องกันไม่ให้คนอ่านได้
X.500 เป็นวิธีจัดรายชื่อข้อมูลที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นลำดับชั้นเพื่อให้ค้นหาได้ง่ายมาตรฐาน X.500 ใช้งานได้กว้างมาก ได้รับการออกแบบให้สามารถจัดข้อมูลขององค์กรทุกองค์กร ข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนจากทุกประเทศในโลกได้ มักจะใช้เสริมการทำงานของX.400
Yellow pages เยลโล่เพจเจส เป็นบริการรายชื่อที่จัดรูปแบบตามสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองคือจัดเรียงรายชื่อข้อมูลตามประเภทของบริการ
Z39.50 มาตรฐานของ NISO ที่กำหนดการทำงานแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์เพื่อค้นประวัติของเอกสารและการค้นฐานข้อมูลอื่นๆ 
มาตรฐาน Z39.50 มีทั้งรุ่นที่ออกในปี 1988 และใน ปี 1992 โปรแกรมที่ใช้มาตรฐานนี้ประกอบด้วยค้นข้อมูลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ทั่วไป เช่นเวยส์
Z39.58 มาตรฐานของ NISO ที่กำหนดคำสั่งกลางในการค้นรายการ (catalog) แบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้มีคำสั่งในการค้นรายการต่างๆ เหมือนกัน